เราจะรับมือกับลูกน้อยเวลาซนอย่างไรดีนะ วันนี้เรามีวิธีการรับมือเวลาลูกน้อยซนมาฝากกัน
1เลี้ยงแบบห่างไกลจอ
30 นาที ต่อ 1 วัน เป็นจำนวนของเวลาที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัย 2-5 ปี ที่จะสามารถใช้หน้าจอต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต โทรทัศน์ เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้ลูกไม่มีสมาธิ อยู่ไม่นิ่ง เกิดความซนมากขึ้น การจำกัดเวลาการใช้สิ่งเหล่านี้ เลี้ยงลูกให้ห่างไกลจอจึงเป็นสิ่งแรกๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความใส่ใจ
2. ปล่อยให้ออกไปวิ่งเล่น
การให้ลูกออกไปวิ่งเล่น ออกกำลัง ใช้แรงที่เขามีมากๆ จะทำให้ลูกรู้สึกปลดปล่อย สนุกสนาน ได้เผาผลาญพลังงานที่มี ทำให้ถึงเวลาที่ต้องอยู่ในบ้านทำกิจกรรมเบาๆ เด็กก็จะมีสมาธิมากขึ้น ไม่ซน ไม่ดื้อ
3. ทำข้อตกลง เด็กดื้องดของว่าง
ทำข้อตกลงกับลูกอย่างชัดเจน บอกกับเขาว่า หากไม่สามารถปฏิบัติตามคำสั่ง ตามสัญญา ตามข้อตกลง ของพ่อแม่ได้ เด็กดื้อจะถูกลงโทษ อาจจะเป็นลดเวลาเล่นลง หรือจะได้ทานขนมน้อยลงเรื่อยๆ วิธีนี้จะทำให้ลูกเข้าใจถึงเงื่อนไขต่างๆ รวมถึงเรื่องของกฎกติกาของสังคมในอนาคต
4. อธิบายเหตุผลเมื่อทำผิด อย่างจริงจังทำ
เมื่อลูกซน ทำความผิด เริ่มแรกคุณพ่อคุณแม่ อย่าเพิ่งใช้ความรุนแรงทำโทษลูกเด็ดขาด เพราะจะทำให้เด็กๆ เกิดการต่อต้านทันที นำไปสู่ความรู้สึกน้อยใจ พ่อแม่ไม่รัก เราควรอธิบายถึงเหตุผลของความผิดที่เด็กได้ทำลงไปอย่างจริงจังให้ลูกเข้าใจ การที่พ่อแม่ทำหน้าจริงจัง ลูกจะรับรู้ได้ว่า เรื่องที่เขาทำมันไม่ถูกต้อง เขาจะรู้สึกผิดขึ้นมา ทำให้เขาไม่ทำแบบนั้นอีก
5. เมิน เมื่อลูกน้อยทำผิดและเรียกร้องความสนใจ
ทำเมิน หรือเลิกสนใจไปแลย เป็นไม้แข็งที่ต้องงัดออกมาใช้เมื่อลูกเริ่มอาละวาด โวยวาย การใช้สายตาแลมองอย่างเงียบๆ จะทำให้เด็กรู้สึกถึงปฏิกิริยาของพ่อแม่ที่มีต่อเขาทันที เขาจะหยุดทำ เมื่อเขาทำตัวดีขึ้นพ่อแม่ก็จะกอดก็จะชื่นชม เป็นการสอนให้เขารับรู้ถึงปฏิกิริยาของพ่อแม่ เป็นการช่วยลดอาการเด็กดื้อลงได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : สารพันปัญหาการเลี้ยงลูก
ขอบคุณภาพจาก : Internet
|