เด็กพูดช้า
ปัจจุบันคุณพ่อคุณแม่หลายคน กังวลว่าลูกเป็นเด็กพูดช้าหรือไม่ และมักห่วงว่าลูกจะกลายเป็นเด็กออทิสติค หลายคนพยายามที่จะบังคับให้ลูกพูด จนบางครั้งทำให้เด็กกลัว ต่อต้าน และไม่ค่อยยอมพูด ก็เลยเกิดความเครียดขึ้นมา โดยทั่วไปแล้วเด็กที่เจริญเติบโต และมีพัฒนาการเป็นปกติ ก็จะมีพัฒนาการด้านการพูดเป็นปกติ ไปตามวัย อย่างเป็นธรรมชาติ เพราะการพูดเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ภาษา และการพูดสื่อความหมายบ่งบอกถึงระดับสติปัญญาในเด็ก เด็กที่สามารถสื่อความหมายกับผู้อื่นได้ บอกความต้องการหรือความรู้สึกให้ผู้อื่นทราบได้ ก็จะเป็นเด็กที่มีอารมณ์แจ่มใส และมีพัฒนาการทางด้านสังคมก้าวหน้าได้ดี�
การที่เด็กจะพัฒนามีการพูดและการใช้ภาษาที่ปกติจะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ คือ
-
การได้ยินหรือการรับรู้ที่ปกติ คือ มีหูชั้นนอก ชั้นกลาง ชั้นในที่ปกติ รวมถึงการมองเห็นและการรับรู้ทางประสาทสัมผัสอื่นๆด้วย เช่น จะสอนเด็กให้รู้จักคำว่า แมว ถ้าเด็กมองเห็นแมวว่ามีรูปร่างอย่างไร ได้ยินเสียงแมวร้อง ก็จะเรียนรู้คำว่าแมวได้ดีขึ้น
-
มีสมองและระบบประสาทที่ปกติ เพื่อใช้ในการรวบรวมข้อมูล แปลข้อมูล ทำความเข้าใจ คิด เตรียมเลือกคำพูด
-
มีอวัยวะในการพูดหรือการออกเสียงที่ปกติ เช่น กล่องเสียง สายเสียง คอ เพดาน ปาก ลิ้น ฟัน ริมฝีปาก กล้ามเนื้อบริเวณคอและใบหน้า กล้ามเนื้อกระบังลม
-
มีสิ่งแวดล้อมที่ดีที่เอื้ออำนวยต่อการพูดของลูก ถ้าคุณพ่อคุณแม่ขยันพูดคุยกับลูกบ่อยๆมีการโต้ตอบต่อการเปล่งเสียงของลูกก็จะช่วยกระตุ้นให้ลูกเล่นเสียงมากขึ้นพูดได้ดีขึ้น
ถ้ามีองค์ประกอบทั้ง 4 ข้อนี้ดี การพัฒนาทางการพูดและการใช้ภาษาก็จะเป็นไปได้ด้วยดี
แต่มีคุณพ่อคุณแม่หลายคนที่เข้าใจว่าการที่ให้ลูกดูทีวีหรือวีดิทัศน์ทั้งวันจะเป็นการช่วยให้ลูกได้สามารถจับคำศัพท์และสามารถฝึกพูดได้เร็วขึ้น จริงๆแล้วในช่วงอายุ 1-2 ปี ที่เด็กกำลังหัดพูดอยู่นั้น ควรที่จะให้เด็กดูทีวีน้อยที่สุด และให้เวลาส่วนใหญ่ของเด็กมีปฎิสัมพันธ์กับคนรอบข้างให้มากที่สุด เพราะว่าการเรียนรู้ภาษานั้นเป็นการเรียนรู้การสื่อสารแบบสองทาง ( Two- way communication) ซึ่งจะทำให้เด็กได้เข้าใจคอนเซปต์ และความหมายของคำต่างๆ ได้ดีกว่าการดูทีวีซึ่งเป็นการสื่อสารแบบทางเดียว (One- way communication)�
การพัฒนาทางการพูดในเด็ก�
ในเด็กปกติจะเริ่มมีการพัฒนาด้านการพูดในอายุที่ใกล้เคียงกัน และมีการพัฒนาเป็นขั้นตอนเหมือนกันทุกชาติทุกภาษา จะต่างกันในรายละเอียดเท่านั้น เช่น อาจพูดเร็วช้าต่างกัน ความชัดเจนถูกต้องต่างกัน หรือจำนวนคำที่พูดได้ต่างกัน�
เด็กจะมีพัฒนาการทางด้านการรับรู้ภาษา(Receptive) และการพูดหรือการแสดงออก(Expressive) ไปพร้อมๆกัน ในแต่ละช่วงอายุ
�
-
แรกเกิด�เริ่มจากเด็กแรกเกิดใช้เสียงร้องในการสื่อความหมายบอกความต้องการของร่างกาย และสภาพอารมณ์ เช่น หิว เจ็บ ไม่สบาย และเด็กที่หูได้ยินเป็นปกติ จะมีการสะดุ้ง ผวาหรือหยุดฟังเสียงเวลามีเสียงดัง
-
อายุ 1.5 ถึง 4 เดือน�เด็กจะจ้องหน้าสนใจเวลามีคนมาพูดคุยด้วย เริ่มเล่นเสียงในคอ อืออา อ้อแอ้ หันหาเสียง รู้เสียงที่คุ้นเคย หัวเราะเสียงดัง
-
อายุ 5-6 เดือน�จะสนุกกับการเลียนเสียง จะเลียนเสียงตนเองและเลียนเสียงคนอื่น โต้ตอบกับเสียงที่ได้ยิน ทำเสียงซ้ำๆ
-
อายุ 9-12 เดือน�รู้จักเล่นเกมส์ง่ายๆ เช่น โยกเยก จับปูดำ เริ่มหัดเรียกพ่อแม่ ใช้ท่าทางสื่อความหมาย ชี้บอกความต้องการ พยักหน้าแสดงความเข้าใจ ทำตามคำสั่งง่ายๆได้(one step command) เช่น บอกให้หยิบลูกบอล , บ๋ายบาย
-
อายุ 1 ปี-1 ปี 6 เดือน�ชี้ส่วนของร่างกายได้ เช่น ชี้ตา หู จมูก ทำตามคำสั่ง และคำขอร้องได้มากขึ้น ทำท่าทางพร้อมกับพูดไปด้วย พูดคำเดี่ยวๆที่มีความหมายได้มากขึ้น
-
อายุ 1 ปี 6เดือน-2 ปี�เข้าใจคำสั่งที่ซับซ้อนมากขึ้น รู้คำศัพท์มากขึ้น พูดคำที่มีความหมายต่างกันสองคำต่อกันได้ เช่น แม่อุ้ม กินนม ไปเที่ยว พูดได้ยาวขึ้น แต่ยังไม่เป็นประโยคที่สมบูรณ์ สนใจเรื่องราวที่มีภาพประกอบ
-
อายุ 2-3 ปี�พูด เป็นประโยคโต้ตอบได้ บอกชื่อ นามสกุล รู้จักเพศของตนเอง ฟังเข้าใจคำสั่งที่ซับซ้อนขึ้น คนที่ไม่คุ้นเคยกับเด็กจะฟังเข้าใจภาษาที่เด็กพูดเกินครึ่ง บอกสีได้ 1-3สี รู้ขนาดเล็กใหญ่ ชอบเล่าเหตุการณ์ที่พบเห็น
-
อายุ 4-6 ปี�พูดโต้ตอบในกลุ่มเพื่อน เล่านิทานได้ พูดชัดเจน อาจมีบางพยัญชนะที่พูดไม่ชัด เช่น ร , ส บอกสีได้มากกว่า 4 สี นับ 1-30 ได้
-
อายุ 6-8 ปี�รู้เวลา รู้ซ้าย-ขวา เริ่มอ่านเขียน
ควรสงสัยว่าเด็กมีปัญหาทางการพูดเมื่อใด�
การที่จะบอกว่าลูกพูดช้าหรือจะมีปัญหาทางด้านการพูดหรือไม่นั้น คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรจะเสียเวลารอจนลูกเกินอายุ 2ปี แล้วจึงนำลูกไปตรวจ เพราะถ้าสังเกตให้ดี ลูกอาจมีพฤติกรรมที่แสดงว่าอาจมีปัญหาในการพูดตั้งแต่ขวบปีแรกแล้ว�
ข้อบ่งชี้ง่ายๆ ว่าเด็กอาจมีปัญหาในการพูดคือ
-
อายุ 6 เดือน�ไม่ส่งเสียงอืออา ไม่หันหาเสียง ไม่ตกใจเวลาได้ยินเสียงดังๆ
-
อายุ 10 เดือน เรียกชื่อไม่หันหา
-
อายุ 15 เดือน�ไม่เข้าใจคำสั่งห้าม ไม่เข้าใจคำสั่งง่ายๆ เช่น มานี่ นั่งลง บ๋ายบาย
-
อายุ 18 เดือน�พูดคำเดี่ยวๆ ได้น้อยกว่า 5-6 คำ
-
อายุ 2 ปี�พูดคำเดี่ยวๆ ที่มีความหมาย 2 คำต่อกันไม่ได้ เช่น ไปเที่ยว ไม่เอา ขอหนมหรือชี้ส่วนของร่างกายง่ายๆไม่ได้
-
อายุ 3 ปี�พูดเป็นประโยคง่ายๆ ไม่ได้ พูดแล้วคนไม่คุ้นเคยฟังไม่เข้าใจ
-
อายุ เกิน 4 ปี�ยังพูดติดอ่าง
-
อายุ เกิน 7 ปี�ยังพูดไม่ชัด
การดูแลรักษา�
การดูแลรักษาเด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับการพูดและใช้ภาษาจำเป็นที่จะต้องรีบกระทำ เพราะหากทิ้งไว้นาน นอกจากจะแก้ไขยากแล้ว เด็กมักจะมีปัญหาทางด้านอารมณ์และจิตใจตามมา เนื่องจากไม่สามารถจะติดต่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้ มักจะหงุดหงิด ก้าวร้าว ฉุนเฉียว เกเร ไม่มีเพื่อน และมีปัญหาในการเข้าสังคมและการเรียนต่อไป�
ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่และผู้เลี้ยงดูควรให้ความสนใจเอาใจใส่ พูดคุยกับเด็กบ่อยๆ ตั้งแต่เด็กยังเล็กให้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการของเด็ก เมื่อเด็กเริ่มเปล่งเสียง เล่นเสียง ให้เปล่งเสียง เลียนเสียงโต้ตอบกับเด็ก เลือกใช้คำสั้นๆ ง่ายๆ พูดคุยกับเด็กบ่อยๆ หากสงสัยว่าเด็กอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการพูดหรือการได้ยิน ให้รีบนำเด็กไปปรึกษาแพทย์เสียแต่เนิ่นๆ�
หากแพทย์ ซักประวัติและตรวจแล้วคิดว่าการได้ยินปกติ และสาเหตุของการพูดช้าเป็นจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการพูดของ เด็ก คุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมโดย
- พยายามกระตุ้นและจูงใจให้เด็กพูด แต่อย่าเครียด คาดคั้นหรือลงโทษ เพราะจะยิ่งทำให้เด็กไม่พูดมากขึ้น�
- ขณะพูดกับเด็ก ให้หันหน้าเข้าหาเด็กเพื่อให้เด็กมองหน้า สบตา มองปากและทำตาม�
- เลือกคำสั้นๆ ง่ายๆ ก่อน พูดช้าๆ และชัดๆ บ่อยๆ อาจเริ่มจากสิ่งที่เด็กกำลังสนใจอยู่ เช่น หนังสือภาพสวยๆ ในระยะแรกให้อ่านให้เด็กฟัง ให้เด็กชี้ภาพให้ตรงกับคำ เช่น หมาอยู่ไหน แล้วให้เด็กชี้ตอบ ในระยะหลังให้ผู้อ่านชี้ที่ภาพแล้วถามเด็กว่านี่ตัวอะไร ร้องเสียงอย่างไร พยายามกระตุ้นให้เด็กตอบ�
- ถ้าเด็กพยายามจะพูด แม้ในระยะแรกจะไม่ชัด ไม่ควรตำหนิเด็ก ให้พูดคำที่ถูกต้องให้เด็กฟัง�
- เมื่อเด็กเริ่มพูดคำสั้นๆ ให้เสริมคำให้ยาวขึ้น เช่น เด็กพูดว่า หมา ให้พ่อแม่เสริมต่อว่า หมาวิ่ง หมาเห่า เป็นต้น หากพยายามกระตุ้นเองอยู่ 2-3เดือนแล้วไม่มีพัฒนาการทางภาษาดีขึ้น ควรพบนักอรรถบำบัด (นักฝึกพูด)อย่างสม่ำเสมอต่อไปเพื่อช่วยในการฝึกพูดให้กับเด็ก
ถ้าหากพบว่าเด็กมีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน หลังจากส่งตรวจการได้ยินอย่างละเอียดแล้ว กุมารแพทย์จะส่งให้พบกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน โสต นาสิก ลาริงค์ เพื่อช่วยในการเลือกเครื่องช่วยในการฟัง (Hearing Aid) แล้วส่งให้นักอรรถบำบัด เพื่อฝึกการฟังและฝึก
|