หนูจำคุณแม่ได้แล้วนะ
สำหรับคุณแม่ผู้ซึ่งดูแลเอาใจใส่ใกล้ชิดลูกมากที่สุด ย่อมเป็นธรรมดาที่เจ้าตัวเล็กจะจำหน้าคุณแม่ได้ก่อนใครๆ แต่ทราบไหมคะว่าลูกมีการเรียนรู้และเริ่มจำหน้าคุณแม่ได้ตั้งแต่เมื่อไหร่ ?�
นี่ไงคุณแม่ของหนู�
ในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกหลังคลอดกิจกรรมโปรดอย่างหนึ่งของเจ้าตัวเล็กคือการได้นอนมองหน้าคนโน้นทีคนนี้ทีที่เข้ามาพูดคุยเล่นด้วย เพราะธรรมชาติของเด็กวัยนี้จะชอบมองวัตถุรูปทรงกลมและเคลื่อนไหวได้ และยิ่งดีใหญ่หากวัตถุนั้นมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับเขาได้
ฉะนั้นนอกจากของเล่นทรงกลมและภาพวาดของสิ่งที่มีรูปร่างกลมแล้วใบหน้าของคนเรานี่แหละค่ะที่สามารถดึงดูดความสนใจของทากได้เป็นอย่างดี ซึ่งในช่วงนี้เจ้าตัวเล็กสามารถมองเห็นได้ชัดเจนในระยะประมาณ 10 นิ้ว ซึ่งเป็นระยะที่สายตาของลูกจะมองเห็นหน้าคุณแม่ขณะที่ให้นมพอดี และแน่นอนว่าคนที่ลูกจะเห็นหน้าเป็นคนแรกและเห็นบ่อยที่สุดก็คือคุณแม่นั่นเอง จึงทำให้ลูกจำคุณแม่ได้ก่อนคนอื่น และจะมีปฏิกิริยาตอบสนองกับคุณแม่มากกว่าคนอื่น
แต่ในช่วงแรกนี้การมองเห็นของลูกยังไม่สมบูรณ์ ลูกยังมองไม่เห็นรายละเอียดต่างๆ บนใบหน้าของคุณแม่ เพราะฉะนั้นลูกจะจำภาพรวมของใบหน้าและทรงผมของคุณแม่มากกว่าจะจำลักษณะเฉพาะนอกจากลูกจะใช้ทักษะการมองในการจดจำใบหน้าของคุณแม่แล้ว ลูกยังใช้ทักษะการฟังและการดมกลิ่นในการจดจำน้ำเสียงที่อ่อนโยนและกลิ่นกายของคุณแม่ ลองสังเกตดูเวลาที่เจ้าตัวเล็กรองไห้ แม้คุณจะยังไม่เดินเข้าไปอุ้ม แต่หากลูกได้ยินเสียงของคุณ เจ้าตัวน้อยจะเงียบเสียงลงทันที
เมื่อลูกมีอายุได้ 2เดือน สายตาของลูกมีการพัฒนาเพิ่มขึ้น เจ้าตัวเล็กจะเริ่มมองเห็นรายละเอียดและลักษณะเฉพาะของใบหน้ามากขึ้น ลูกจะเริ่มจดจำว่าตาของคุณแม่สีอะไร ลักษณะของจมูก และปาก เป็นแบบไหน ในขณะเดียวกันลูกก็เริ่มสังเกตและจดจำใบหน้าของคุณพ่อได้ด้วย ทารกในช่วงวัยนี้จะจำคุณพ่อคุณแม่ได้แม้ว่าทั้งคู่จะแต่งตัวต่างไปจากทุกวันหรือตัดผมทรงใหม่ ลูกก็ยังจำได้ ซึ่งต่างจากช่วงแรกที่ลูกยังจดจำเฉพาะภาพรวมของคุณพ่อคุณแม่ ฉะนั้น หากคุณแม่เปลี่ยนทรงผมใหม่ก็อาจทำให้ลูกเกิดความสับสนได้ว่าผู้หญิงที่อยู่ตรงหน้านี้ใช่คุณแม่ไหมนอกจากคุณพ่อคุณแม่แล้ว เจ้าตัวเล็กยังเริ่มสังเกตและจดจำลักษณะเฉพาะของใบหน้าสมาชิกคนอื่นๆ ในบ้านด้วย ซึ่งต่อไปเขาก็จะเริ่มแยกแยะได้ว่าใครเป็นใครจากรายละเอียดเหล่านี้�
รู้จักแยกแยะคุณแม่กับคุณพ่อ�
นอกจากการเรียนรู้และจดจำใบหน้าของคุณแม่แล้ว ในช่วงเวลาเดียวกันนี้เจ้าตัวเล็กก็เรียนรู้ที่จะแยกแยะว่าคนไหนคือคุณแม่และคนไหนคือคุณพ่อได้อีกด้วย ซึ่งนอกจากลักษณะของใบหน้าที่มีความแตกต่างกันแล้วเจ้าตัวน้อยยังอาศัยประสาทสัมผัสด้านอื่นๆ ในการช่วยแยกแยะความแตกต่างระหว่างคุณพ่อกับคุณแม่ด้วยค่ะ
เริ่มจากประสาทสัมผัสในด้านการฟัง เจ้าตัวน้อยได้ยินเสียงของคุณแม่มาตั้งแต่อยู่ในท้องแล้ว และก็ได้ยินเสียงของคุณพ่อเวลาที่คุยกับคุณแม่ด้วยแต่ไม่ชัดเจนนัก หลังคลอดแล้วลูกต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่งในการแยกแยะน้ำเสียงของคุณพ่อกับน้ำเสียงของผู้ชายคนอื่น ฉะนั้นหากคุณพ่ออยากให้ลูกจำเสียงและจำหน้าคุณพ่อได้ คุณพ่อก็ควรเข้ามาพูดคุยให้เจ้าตัวเล็กได้เห็นหน้าและได้ยินเสียงบ่อยๆ และนอกจากน้ำเสียงแล้ว การที่คุณพ่ออุ้มลูกบ่อยๆ จะทำให้ลูกจดจำกลิ่นกายของคุณพ่อได้ จำวิธีอุ้มของคุณพ่อได้เวลาที่คุณพ่อหอมลูก ลูกก็จะจำได้ว่าผิวหน้าที่มีเคราหยาบๆ แบบนี้แหละคือคุณพ่อ แต่ถ้าเป็นแก้มนุ่มๆ ก็จะเป็นคุณแม่ เป็นต้น
การที่คุณทั้งคู่ให้เวลากับลูกมากพอ นอกจากจะช่วยให้ลูกจดจำคุณพ่อคุณแม่ได้เร็วขึ้นแล้ว จุดประสงค์หลักคือ ลูกจะได้รับความรักความอบอุ่นจากคุณพ่อคุณแม่อย่างเต็มที่ ซึ่งจะส่งผลให้ลูกเติบโตเป็นเด็กที่มีสุขภาพจิตดี มองโลกในแง่ดีและมีความสุขในการดำเนินชีวิตต่อไป�
�
�
แนะนำบทความดีๆโดย�พี่เลี้ยงเด็ก�www.thainannyclub.com
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
�นิตยสารบันทึกคุณแม่ No.161 December 2006
�
|