ธรรมชาติการนอนหลับในเด็ก
การนอนหลับเป็นสิ่งจำเป็นมากของร่างกายสำหรับทุกคน เพราะการนอนเท่านั้นจะทำให้สมองและร่างกายได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ และในช่วงเวลาที่นอนหลับนั้น สิ่งต่างๆ ที่เราได้เรียนรู้ระหว่างวันจะถูกบันทึกไว้ในความจำถาวรของสมองซึ่งกระบวนการนี้เป็นสิ่งสำคัญและมีความจำเป็นมากโดยเฉพาะในเด็กคุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจไม่ทราบว่าการนอนหลับที่ดีจะสัมพันธ์อย่างมากกับการเจริญเติบโตของร่างกาย และพัฒนาการทางสมองของเด็ก ซึ่งปัญหาที่เกี่ยวข้องการนอนหลับเราอาจพบในเด็กได้เช่นเดียวกับผู้ใหญ่เช่น การนอนกรน นอนไม่หลับ หรือมีพฤติกรรมที่ผิดปกติระหว่างการนอน เช่น นอนละเมอ ร้องไห้โวยวายระหว่างนอน� หลับฝันร้าย นอนกัดฟัน เป็นต้น และปัญหาเหล่านี้อาจส่งผลต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กได้ซึ่งในที่นี้ผมจะขอพูดถึงธรรมชาติปกติของการนอน ให้ทุกท่านเข้าใจก่อนค่อยกล่าวถึงปัญหาของการนอนหลับในครั้งต่อไป
คนเราทุกคนเมื่อมีชีวิตอยู่จะมีสองสภาวะเท่านั้นครับ คือ ภาวะตื่นและภาวะหลับที่สลับกันไปมาเป็นระยะเวลา24 ชั่วโมงในหนึ่งวัน เรียกว่า Circadian Rhythm สภาวะตื่นและหลับที่สลับกันไปมานี้เป็นผลจากการทำงานของสมองส่วนกลางหรือสมองส่วนควบคุมนาฬิกาชีวิต (Biological clock) จะทำงานและเรียนรู้ที่จะสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมตลอดเวลา(entrain) โดยอาศัยปัจจัยหลักที่สำคัญคือ ความสว่างหรือสภาพแสงที่ทำให้นาฬิกาชีวิตทำงาน ส่งผลให้เราตื่นในตอนกลางวันที่เรียกว่าสภาวะตื่นและนอนหลับในเวลากลางคืนในสภาวะหลับ โดยอาศัยสารเคมีในสมองที่ชื่อ อะดีในซีน (Adenosine) กล่าวคือเมื่อตื่นนอนในตอนเช้าสมองจะเริ่มมีสารเคมีชื่ออะดีในซีนเกิดขึ้น และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆแต่เราก็ยังไม่หลับตอนกลางวัน เนื่องจากนาฬิกาชีวิตทำให้เราตื่นและคอยต้านฤทธิ์ของสารดังกล่าวเมื่อเวลาผ่านไปจนกระทั่งเย็น สารอะดีในซีนจะสะสมมากขึ้นจนทำให้เราง่วงนอนเมื่อเข้าสู่เวลากลางคืนไม่มีแสงสว่าง นาฬิกาชีวิตจะเข้าสู่การทำงานในสภาวะหลับ แรงต้านสารอะดีในซีนหายไปและสารเมลาโตนิน (Melatonin) ในสมองจะทำงานทำให้เราหลับขณะเราหลับนี้ ระดับสารอะดีในซีนในสมองจะค่อยๆ ลดลง จนกระทั่งเราตื่นนอนขึ้นมาอีกครั้งการทำงานของนาฬิกาชีวิตจะทำงานหมุนเวียนกันตามวงจรนี้ไปจนตลอดชีวิต
หลายคนเข้าใจว่าคนเราตื่นและหลับตั้งแต่เกิดแต่ในความเป็นจริงแล้ว เราตื่นและหลับตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ครับ เราพบว่าสมองของคนเราสร้างเสร็จสมบูรณ์และเริ่มทำงานได้ตั้งแต่อายุ 12 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ แต่อาจไม่สมบูรณ์มากนักซึ่งภาวะตื่นหลับก็เกิดขึ้นมาแล้วตั้งแต่เด็กอยู่ในท้องแม่และสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของสมองส่วนควบคุมนาฬิกาชีวิตเนื่องจากสภาพแวดล้อมในท้องแม่จะมืดสนิทมาก เด็กทารกในครรภ์จะเป็นอย่างไรท่านอาจจะประหลาดใจ และคาดว่าเด็กทารกอาจตื่นในขณะที่แม่หลับหรืออาจหลับในขณะที่แม่ตื่น แต่ในความเป็นจริงสภาวะตื่น-หลับของทารกสามารถที่จะทำงานและเรียนรู้ที่จะสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของแม่เด็กทารกเรียนรู้ที่จะตื่นในขณะที่แม่ตื่น และหลับในขณะที่แม่หลับ รับรู้กลางวัน และกลางคืนได้ ผ่านทางระดับของสารเคมีในกระแสเลือดของแม่ผ่านทางรกครับ�
ในขณะที่แม่นอนหลับและสภาพแวดล้อมมืดสนิทในเวลากลางคืน ระดับของสารเคมีชื่อเมลาโตนิน (Melatonin) ซึ่งสร้างโดยสมองของแม่จะสูงขึ้นในกระแสเลือดของแม่ แต่จะมีระดับต่ำในตลอดกลางวัน เมื่อตื่นนอนและแสงสว่างมากเท่านั้น ซึ่งระดับสารเคมีต่างๆ เหล่านี้จะผ่านทางรกไปสู่เด็กทารก ทำให้เด็กทารกรับรู้สภาวะหลับตื่นของแม่ได้แล้วนอนหลับและตื่นนอนตาม
เมื่อเด็กทารกแรกเกิด คลอดออกมาจากครรภ์มารดา แม้ว่าสมองส่วนควบคุมนาฬิกาชีวิตทำงานควบคุมการตื่นหลับได้แล้ว แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์ครับเด็กทารกแรกเกิดยังต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวของตัวเองและเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมใหม่ (entrain)นาฬิกาชีวิตของเด็กมีการปรับตัวครั้งใหม่โดยอาศัยแสงสว่างซึ่งเป็นความสว่างจริงจากธรรมชาติที่แตกต่างจากในครรภ์มารดา เพื่อเรียนรู้จังหวะหลับ-ตื่นใหม่
เด็กทารกแรกเกิดปกติจะนอนเกือบ 16 ชั่วโมงต่อวันจะหลับตื่นไม่ต่อเนื่องกันในระยะแรก ตื่นระยะสั้นๆ หลับระยะสั้นๆ สลับไปมา ตื่นตอนกลางคืนและนอนในเวลากลางวัน เมื่อเริ่มต้นการหลับ เด็กทารกจะเข้าสู้ระยะฝันทันที��เด็กทารกจะใช้เวลาส่วนใหญ่�60 เปอร์เซ็นต์ของการนอนเป็นชนิดแบบฝัน�ในขณะฝันเราอาจสังเกตได้ว่าเด็กอาจมีการกระตุกสะดุ้ง ตากระพริบได้ หรือการหายใจอาจไม่สม่ำเสมอซึ่งในเด็กบางคนอาจรุนแรงมากจนพ่อแม่ พามาพบแพทย์ด้วยข้อสงสัยที่ว่าเด็กอาจมีอาการชักได้ เราจะเรียกการนอนระยะนี้ว่าการนอนแบบฝัน มีการกรอกของลูกตา (active sleep) ซึ่งจะสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของสมอง และการสร้างใยประสาทเชื่อมต่อกันของเซลประสาท (synapse) ส่วนการนอนที่เหลือ 40 เปอร์เซ็นต์ เด็กจะดูนอนแบบสงบ� สบาย หายใจราบรื่น หลับตาสนิท หรือ quietsleep และเมื่อตื่นขึ้นมา เด็กเล็กก็มักจะ ร้องไห้ งอ แงทันทีน้อยมากที่จะพบว่าเด็กตื่นแล้วอยู่เงียบๆ เฉยๆ ซึ่งวงจรการหลับระหว่างเด็กทารกกับผู้ใหญ่จะแตกต่างกันอย่างชัดเจนกล่าวคือ ในผู้ใหญ่วงจรการหลับ จะเริ่มจาก หลับตื้น (ระดับ1,2) เข้าสู่หลับลึก (ระดับ 3,4) และเข้าสู่การฝันจะมีการกรอกของลูกตา (RapidEye Movement) หรือ� REM sleepซึ่งจะเกิดหลังเข้านอนแล้วประมาณ 90 - 120 นาที
เมื่อเด็กอายุ 6 เดือน โครงสร้างการนอนหลับที่คล้ายผู้ใหญ่จะสมบูรณ์เด็กจะมีการนอนเริ่มจาก หลับตื้น (ระดับ 1,2) เข้าสู่หลับลึก (ระดับ3,4 ) และเข้าสู่การฝัน ระยะเวลาที่ฝัน (REMsleep) จะลดลงเหลือเพียง 40 เปอร์เซ็นต์ของการนอนเท่านั้น เด็กนอนหลับติดต่อกันเป็นเวลายาวในตอนกลางคืนแต่อาจตื่นได้ตอนดึก และเมื่ออายุขวบปีเด็กส่วนมากจะหลับได้ตลอดทั้งคืนโดยไม่ตื่นเลย การนอนจะสมบูรณ์เมื่อ 2 ปีไปแล้ว การนอนในตอนกลางวันของเด็กจะค่อยๆ น้อยลงเรื่อยๆ ในช่วง 3 ปีแรก และเมื่ออายุครบ 4 ปี เด็กจะไม่มีความจำเป็นต้องนอนหลับในตอนกลางวันแล้ว
ในเด็กอาจเกิดปัญหาการนอนหลับได้มากเช่นเดียวกับผู้ใหญ่�ซึ่งจะสามารถพบได้โดยการสังเกตของพ่อแม่หรือผู้ปกครองมากกว่าที่เด็กจะเป็นคนบอกเองและบางครั้งปัญหาของเด็กจะทำให้พ่อแม่รู้สึกเป็นปัญหามากกว่าตัวเด็กเองที่มีปัญหาเช่น ถ้าเด็กไม่ยอมนอน เข้านอนดึกมาก หรือตื่นกลางดึกบ่อยๆอาจทำให้พ่อแม่เองอาจมีปัญหานอนไม่ได้ หลับไม่สนิท และพักผ่อนไม่เพียงพอ
ปัญหาเรื่องการนอนหลับของเด็กแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มหลักๆ คือปัญหานอนไม่หลับ หรือไม่ยอมนอน หลับไม่สนิท (Insomnia) ง่วงนอนมากกว่าปกติในตอนกลางวัน(Hypersomnolence) และปัญหาพฤติกรรมผิดปกติในขณะที่นอนหลับ (Sleeprelated behaviors) เด็กอาจมีอาการใดอาการหนึ่งข้างต้น หรืออาจมีมากกว่า1 อาการก็ได้ ซึ่งอาการนอนไม่หลับ (insomnia) จะพบได้บ่อยสุด
การนอนไม่หลับในเด็กมีหลายความหมาย อาจหมายถึงเด็กไม่ยอมเข้านอนเมื่อถึงเวลานอนมีข้ออ้าง งอแง และไม่ยอมนอน ซึ่งพบได้ในเด็กอายุมากกว่า 2 ปี (Limit setting problems) ส่วนในเด็กเล็กปกติ อาจพบว่าเด็กตื่นตอนดึกบ่อยๆ อยู่แล้วและสามารถกลับไปหลับได้ปกติ แต่ในเด็กบางคนพ่อแม่อาจต้องใช้ความพยายามมากกว่าปกติ เช่นอาจต้องอุ้ม พาเดิน ไกวเปล ขยับแกว่ง โยกไปมา เพื่อจะกล่อมให้เด็กนอนให้หลับ ทำให้เกิดปัญหากับพ่อแม่มาก(Sleep association disorder) หรือนอนไม่หลับอาจหมายถึงตื่นบ่อยเด็กอาจมีภาวะหยุดหายใจ (Obstructive sleep apnea.) หรือนอนกรน(Snoring) ร่วมด้วยได้ ส่วนในเด็กโตเข้าวัยรุ่นการนอนไม่หลับอาจไม่ใช่ปัญหาของเด็กจริงๆ แต่อาจหมายถึง การเข้านอนดึกมากๆแล้วตื่นในตอนสายของวันใหม่ (Delayed sleep phase syndrome) และถ้าเด็กถูกบังคับให้นอนแต่หัวค่ำอาจทำให้เด็กมีปัญหาเรื่องนอนไม่หลับได้
ปัญหาในรายละเอียด เรื่องนอนไม่หลับ เด็กนอนกรนเด็กนอนละเมอ จะขอเล่าในตอนต่อไปครับ
�
แนะนำบทความดีๆโดย�พี่เลี้ยงเด็ก�www.thainannyclub.com
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
นพ. นที รักษดาวรรณ
ศูนย์สมองและระบบประสาท
ขอขอบคุณ�ศูนย์สมอง�และระบบประสาท
โรงพยาบาลปิยะเวท
�
โทร. 0-2625-6500
|