�
� � � สำหรับว่าที่คุณแม่แทบทุกรายความตั้งใจอย่างหนึ่งเมื่อตั้งครรภ์ คงหนีไม่พ้นการได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะเป็นที่รู้กันดีว่า นมแม่ดีที่สุด สำหรับเจ้าตัวน้อย อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะถึงวันนั้น เรามาเตรียมความพร้อมเพื่อการให้นมลูก�อย่างประสบความสำเร็จกันดีกว่าค่ะ
�
คุณพ่อคุณแม่หลายท่านคงช้อปปิ้งซื้อสิ่งของเครื่องใช้เตรียมไว้ให้เจ้าตัวน้อยมากมาย แต่อย่าลืมว่าเต้านมของคุณแม่ ก็จำเป็นต้องได้รับการเตรียมพร้อมสำหรับการให้นมลูกเช่นกัน ส่วนจะต้องเตรียมอย่างไรบ้างนั้น เรามีข้อมูลมาฝาก�กันค่ะ
�
มาตรวจเต้านมกันเถอะ
�
หลังจากรู้ว่าตนเองตั้งครรภ์ และวางแผนที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สิ่งแรกที่คุณแม่ควรทำ คือตรวจสอบเต้านมของตนเองเพื่อดูว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เช่น คลำเต้านมเพื่อตรวจสอบว่ามีก้อนเนื้องอกหรือถุงน้ำ ซึ่งอาจต้องได้รับการรักษา
�
หรือมีนอกจากนั้นควรสังเกตลักษณะของหัวนมว่ามีลักษณะเช่นใด คุณแม่บางรายหัวนมสั้น หัวนมบุ๋ม หรือหัวนมบอด โดยหัวนมปกติทั่วไปควรยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร หากสั้นกว่านี้ เจ้าตัวน้อยอาจดูดนมได้ลำบาก แต่ทั้งนี้ก็ต้องดูลานหัวนมประกอบด้วยว่าหากลานหัวนมยืดหยุ่นดีแม่หัวนมจะสั้นก็ทำให้ดูดนมได้ไม่ยาก
�
เอ๊ะ! หัวนมบอดหรือเปล่านะ?
�
คุณแม่หลายท่านเมื่ออ่านมาถึงบรรทัดนี้ อาจเริ่มแหวกคอเสื้อตัวเอง ก้มลงมองดูเต้านมว่าเอ๊ะ! หัวนมเราปกติหรือเปล่า แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าหัวนมบอด แบบไหนจะเป็นอุปสรรคต่อการให้นมลูก โดยทั่วไปหัวนมบอดมี 3 ระดับ ได้แก่
�
ระดับ 1 (Inverted Nipples Grade 1) หัวนมเรียบหรือยุบตัวเข้าไปบางส่วน แต่สามารถใช้มือดึงออกมาได้ บางครั้งหัวนมจะยื่นออกมาได้เอง หากได้รับการกระตุ้นโดยการสัมผัส หรือการดูด รวมทั้งอากาศที่เย็นๆ ท่อน้ำนมไม่มีการรั้งตัวสามารถให้นมลูกได้
�
ระดับ 2 (Inverted Nipples Grade 2) �หัวนมยุบตัวเข้าไป แต่ดึงออกมาค่อนข้างยาก หรือถ้าดึงออกมาได้ก็จะคงตัวอยู่ได้ไม่นานแล้วหัวนมก็จะยุบกลับเข้าไปอีก บางรายให้นมลูกได้ แต่บางรายที่ท่อน้ำนมรัดตัวก็อาจมีปัญหาในการให้นมลูก
�
ระดับ 3 (Inverted Nipples Grade 3) �หัวนมยุบตัวเข้าไปทั้งหมด และไม่สามารถดึงออกมาได้ ท่อนํ้านมรั้งตัว และคดอยู่ข้างใน ทำให้อาจจะไม่สามารถให้นมลูกได้เลย ผู้หญิงที่มีหัวนมบอดระดับรุนแรงนี้ อาจจะประสบปัญหาการติดเชื้อข้างในรูหัวนม มีอาการคัน หากทำความสะอาดรูหัวนม ไม่ดีพอเพียง
�
� � � การตรวจสอบว่าหัวนมบอดหรือไม่ ทำได้โดยใช้นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้วางทาบบนรอยต่อระหว่างฐานของหัวนม และลานนมกดนิ้วมือทั้งสองลงไปตรงๆ เล็กน้อยแล้วบีบเข้าหากันจับหัวนมขึ้นมาเบาๆ ถ้าหัวนมที่ยาวปกติจะสามารถจับหัวนม�ได้ แสดงว่าทารกสามารถดูดนมได้ ถ้าหัวนมมีขนาดสั้นหรือแบน หัวนมจะผลุบลงไประหว่างนิ้วมือ หัวนมที่ดึงออกได้ง่าย แสดงว่ามีการยืดหยุ่นดี ถ้าหัวนมที่ดึงออกได้เพียงเล็กน้อยแสดงว่ามีการยืดหยุ่นไม่ดี สำหรับหัวนมที่ดึงไม่ออก และอยู่ลึกในเต้านมเรียกว่า หัวนมบอด
�
หัวนมบอด...แก้ไขได้
�
เอาล่ะสิ หากคุณค้นพบว่าตัวเองหัวนมบอด ก็อย่าเพิ่งกังวลไปค่ะ เพราะวิวัฒนาการสมัยนี้มีเครื่องมือที่ช่วยเหลือคุณแม่มากมาย จะว่าไปแล้วการให้ลูกดูดนมบ่อยๆ ดูดถูกวิธี และให้ดูดหลังคลอดทันที ก็ช่วยลดปัญหานี้ได้มาก อย่างไรก็ตาม�คุณแม่ก็สามารถเตรียมพร้อมก่อนคลอด เพื่อสร้างความมั่นใจได้อีกทางว่า หลังคลอดแล้วคุณจะให้นมเจ้าตัวน้อยได้อย่างราบรื่น
�
ปทุมแก้ว (Breast Shield) ทำด้วยพลาสติกใสมีฝาที่แกะออกจากกันได้วิธีใช้คือใช้ครอบบริเวณเต้านม โดยใส่ไว้ในเสื้อชั้นในการใช้ปทุมแก้ว ควรเริ่มเมื่อตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้าย โดยใส่วันละ 2-3 ชั่วโมง หลังคลอด อาจใส่ 30 นาทีก่อนให้ลูกดูดนมเพื่อช่วยให้หัวนมยื่นออกมา ทั้งนี้ไม่ควรใส่นอนกลางคืน
�
กระตุ้นหัวนมด้วยการนวด �วิ ธีนี้จะใช้หลังจากคลอดลูกแล้ว โดยทำก่อนที่จะให้นมลูก โดยคีบหัวนมด้วยนิ้วโป้ง และนิ้วชี้ และคลึงเบาๆ ประมาณ 30 วินาที หลังจากนั้นใช้ผ้าเย็นประคบทันที ก่อนให้ลูกดูดนม
�
โอ๊ะ โอ! หัวนมยาวก็มีปัญหา
�
ไม่เพียงคุณแม่ที่มีหัวนมสั้น หรือหัวนมบอดเท่านั้นค่ะที่จะต้องเผชิญอุปสรรคในการให้นมแต่คุณแม่ที่มีหัวนมยาวเกินไป ก็อาจเป็นอุปสรรคในการให้นมลูกเช่นกัน เพราะลูกจะดูดได้แค่หัวนม เหงือกลูกไม่สามารถที่จะคาบถึงบริเวณลานหัวนมลิ้นของลูกจะไม่กดลงบนกระเปาะ และกระทบกับเพดานปากทำให้น้ำนมไม่พุ่งเท่าที่ควร และทำให้ลูกไม่ได้รับน้ำนมมากพอต่อความต้องการ ปัญหานี้แก้ได้โดย
�
ช่วยให้ลูกอมบริเวณลานหัวนมให้ลึกมากที่สุด
�
คุณแม่ฝึกประคองเต้านมแบบ C-hold �โดยใช้นิ้วหัวแม่มือวางลงบริเวณลานนมด้านบน และใช้ฝ่ามือประคองเต้านมด้านล่าง กดเบาๆ บริเวณลานนมเพื่อให้ลานนมแคบลงแล้วให้ลูกอ้าปากให้กว้าง และอมเต้านมให้ลึกถึงบริเวณลานนม พร้อมกับประคองลำตัวทารกให้แนบกับลำตัวของแม่
�
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคุณจะมีปัญหาแบบไหนแต่หากอุ้มลูกเข้าเต้าอย่างถูกต้อง และให้ลูกดูดถูกวิธี คือ ดูดตรงลานนมเข้าไปด้วย ไม่ใช่แค่ที่หัวนมอย่างเดียว ปัญหาต่างๆ ก็ถือว่าได้รับการแก้ไขไปแล้วระดับหนึ่งค่ะ เพราะนี่เป็นสัญชาตญาณ
�
การเอาตัวรอดของเจ้าตัวน้อยที่จะหาวิธีที่งับลงบนลานนมให้ได้อยู่แล้ว สิ่งสำคัญมากกว่าปัญหาทางกายภาพคือ ความมั่นใจของคุณแม่ และการให้ลูกได้ กินนมแม่เร็วที่สุดใน 2 ชั่วโมงแรก เพื่อกระตุ้นให้ลูกได้เรียนรู้ที่จะดูดนมจากออกแม่�หลังจากนั้นเรื่องอื่นๆ ก็ดูเหมือนว่าจะไม่เป็นปัญหาแล้วละค่ะ
ขอให้โชคดีในการให้นมลูกนะคะ
�
ขอบคุณบทความจาก �firstyear.pregnancysquare.com
รูปภาพจาก Internet
�
|