� � � เป็นความฉลาดทางอารมณ์ ที่จะช่วยให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างสร้างสรรค์และมีความสุข (เข้าใจตนเอง + เข้าใจผู้อื่น + แก้ไขความขัดแย้ง) นิทานช่วยพัฒนา ภาษา ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ เรียนรู้ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม สานสายใยครอบครัว ปลูกฝังให้รักการอ่าน สนุกสนาน เพลิดเพลินและมีสมาธิ สิ่งเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานนำไปสู่การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ที่เหมะสมในแต่ละช่วงวัยและจากสิ่งที่ได้อ่านได้ฟังยังใช้เป็นแนวทางที่จะช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ เพื่อให้เด็กอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเข้าใจและมีความสุข
Q : เลือกนิทานอย่างไรให้ลูกรัก ? A : เด็ก ๆ เรียนรู้จากการฟังและการอ่านนิทาน ดังนั้นผู้ปกครองควรส่งเสริมให้เด็กๆได้ฟังหรืออ่านนิทานจากหนังสือที่เหมาะสมกับวัยเพื่อช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ดีมีความฉลาดทางอารมณ์ และมีความสุข ขณะตั้งครรภ์ ควรเลือกหนังสือที่สนุกสนานโดยแม่ตั้งใจเล่านิทานให้ลูกน้อยในครรภ์ฟัง วัยแรเกิด - 1 ปี วัยนี้จะสนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว ชอบมองของที่มีสีสวยงาม รู้สึกสนุกกับการค้นหา หนังสือที่เหมาะสมกับวัยนี้ ควรเป็นหนังสือที่มีรูปภาพเดี่ยวเหมือนจริง เช่น รูปสัตว์ ผลไม้ ฯลฯ ฉากหลังของภาพไม่รกรุงรัง วัย 2-3 ปี เป็นวัยอยากเรียนรู้สิ่งต่างๆ สนใจค้นหาชอบสำรวจสิ่งต่างๆ มีการพัฒนาทางภาษารวดเร็ว ชอบฟังบทกลอนสั้นๆ ใช้ภาษาง่ายๆ หนังสือที่เหมาะสมกับวัยนี้ ควรมีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน สัตว์ สิ่งของใช้ภาษาง่ายๆอาจเป็น บทกลอนหรือคำคล้องจอง วัย 4-5 ปี เด็กวัยนี้พูดเป็นประโยคยาวๆได้ ชอบตั้งคำถามทำไม อย่างไร ช่างสังเกต ช่างฝัน เริ่มมีจินตนาการ เล่นเป็นกลุ่มด้วยบทสมมติเป็น หนังสือที่เหมาะกับวัยนี้ ควรเป็นเรื่องที่ประสานกลมกลืน เนื้อเรื่องสนุก ใช้ภาษาแปลกๆ รูปภาพน้อยลงแต่รายละเอียดของภาพมากขึ้น วัย 6-7 ปี เด็กวัยนี้พูดได้ชัดเจน เล่าเรื่องต่างๆได้ยาว ชอบแสดงท่าทางประกอบหรือเลียนแบบ หนังสือที่เหมาะกับวัยนี้ ควรเป็นเรื่องสั้นๆ ใช้ภาษาง่ายๆ เนื้อเรื่องตลกขบขัน มีการสอดแทรกจริยธรรม วัย 8- 11 ปี เด็กวัยนี้จะเิ่มรู้จักคิดเป็นเหตุเป็นผล ชอบเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ มีสมาธิดีขึ้น หนังสือที่เหมาะกับวัยนี้ ควรเป็นหนังสือที่เขียนจากเรื่องจริง เช่น ประวัติบุคคลสำคัญ ความรู้รอบตัว ฯลฯ มีการสอดแทรกจริยธรรมในเนื้อเรื่อง วัย 12 15 ปี เด็กวัยนี้มีความคิดเป็นของตัวเอง เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม บางครั้งสับสนกับบทบาทของตนเองชอบเลียนแบบสื่อที่ชอบ หนังสือที่เหมาะสมกับวัยนี้ ควรเป็นเรื่องที่ มีความหลากหลาย ซับซ้อน ที่สามารถคิดคาดเดาและท้าทายให้อยากรู้ต่อไป มีการสอดแทรกคุณธรรม และจริยธรรม
ขั้นที่ 1 อ่านหนังสือให้เด็กฟัง�
โดยให้เด็กนั่งตัก หรือนั่งในท่าสบาย ๆ ใกล้ๆกับคนเล่า อ่านนิทานให้เด็กฟังทีละหน้าอย่างช้า ๆ�
และอาจมีการชี้ชวนให้ดูภาพประกอบไปด้วย
�ขั้นที่ 2 เมื่อเล่าจบ ตั้งคำถามกับเด็กว่านิทานที่อ่านไปนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไรและให้เด็กเล่ากลับมา�
โดยผู้ปกครองสามารถช่วยได้ หากเด็กนึกคำไม่ออก หรือใช้คำไม่ถูก
�ขั้นที่ 3 ให้เด็กทำท่าทางประกอบ เลียนแบบตัวละครในนิทาน�
การทำท่าทางประกอบนี้เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะทำให้เด็กเข้าใจความหมายของ ภาษาได้ดียิ่งขึ้น
�ขั้นที่ 4 ให้กระดาษเด็ก 1 แผ่น เด็กอยากเขียน อยากวาดอะไร ก็ให้เขียนออกมาเลย�
การวาดภาพจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางให้เด็กได้แสดงออกในสิ่งที่คิด หรือจินตนาการอยู่�
หรือถ้าเด็กยังวาดไม่ได้ พ่อแม่ก็สามารถเขียนหรือวาดให้ลูกดู และให้ลูกอ่านตามได้
�ขั้นที่ 5 เล่นบทบาทสมมติกับพ่อแม่ เกี่ยวกับเรื่องราวในนิทาน�
ซึ่งประโยชน์ที่เด็กจะได้รับจากข้อนี้ คือ การฝึกสมาธิ และฝึกกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ
�ขั้นที่ 6 เล่นเกมเสียง เหมาะสำหรับเด็กที่โตขึ้นมาอีกหน่อย ที่สามารถเล่นเกมภาษาได้�
โดยอาจนำประโยคที่เด็กเคยได้ยินจากในนิทาน มาทำเป็นเกมต่าง ๆ ให้เด็กได้เลียนเสียง�
หรือสังเกตตัวอักษรที่ตรงตามเสียงนั้น
ทั้งนี้ การประยุกต์ใช้ให้เกิดผลนั้น รศ.ดร. เสาวลักษณ์ระบุว่า จะต้องไม่ตีกรอบกับเด็กมากเกินไป�
และต้องเฟ้นหาเรื่องที่เด็กสนใจขึ้นมาอ่านแทนการบังคับอ่านตามหัวข้อที่พ่อ แม่ หรือคุณครูกำหนดขึ้น�
เนื่องจาก การพัฒนาศักยภาพทางด้านภาษานั้นก็คือการสร้างและสะสมประสบการณ์ของเด็กเอง�
หาใช่การเรียนแบบท่องจำไม่ เด็กจะมีความสุขที่ได้เรียนในสิ่งที่ตนเองชื่นชอบ�
และจะเป็นผู้คิดเองว่า เขาจะใช้ทักษะทางภาษาเหล่านี้ไปเพื่ออะไร และสุดท้าย จะทำให้เขาเปลี่ยนจากการเรียน
แบบท่องจำไปสู่การเรียนรู้การใช้ ภาษาตามความต้องการของตนเองได้ในที่สุด
แนะนำบทความดีๆโดย�
พี่เลี้ยงเด็ก�
www.thainannyclub.com